: ภาวะกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) คืออะไร มีลักษณะอย่างไร
 : ภาวะกระดูกสันหลังคด คือภาวะที่กระดูกสันหลังมีการเรียงตัวผิดปกติทั้งสามมิติ (3 Dimensional deformitive abnormality of the spine) ซึ่งมีทั้งการหมุนและการเอียงออกจากแนวกลางลำตัวร่วมด้วย หากมีกระดูกสันหลังคดระดับอกจะส่งผลให้กระดูกซี่โครงผิดปกติไปด้วย 

ประเภทของกระดูกสันหลังคด (Type of Scoliosis)
  1. กระดูกสันหลังคดตั้งแต่แรกเกิด (Congenital scoliosis) เกิดจากความผิดปกติในช่วงการแบ่งตัวตอนเป็นทารกขณะอยู่ในครรภ์ แนวกระดูกสันหลังไม่ตรงและบิดหมุน
  2. กระดูกสันหลังคดจากโรคประสาทและกล้ามเนื้อ (Neuromuscular scoliosis) กระดูกสันหลังคดชนิดนี้เป็นสาเหตุรองที่พัฒนามาจากโรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เมื่อระบบประสาทผิดปกติทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อไม่สมดุล  จึงส่งผลให้เกิดกระดูกสันหลังคดได้
  3. กระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic scoliosis) พบมากในเด็กวัยรุ่น
 
 


 
รักษาอย่างไรโดยไม่ต้องผ่าตัด

ที่ DBC Spine Clinic and Gym เราเน้นรักษาด้วยการออกกำลังกาย ทำกายบริหารเพื่อแก้ไขทรงของส่วนหลังอย่างเฉพาะเจาะจง (Curve Specific Therapeutic Exercises) ซึ่งจะช่วยยับยั้งองศาการคดที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตได้ และยังสามารถช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น เพื่อช่วยในการทรงท่าทางให้กับร่างกาย และเรายังเน้นการรักษาด้วยเทคนิควอยต้า (Vojta Therapy) เพื่อช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อที่ออกแรงดึงกระดูกสันหลังให้ทำงานร่วมกันได้อย่างสมดุลขึ้น  

 
 : กระดูกสันหลังคดที่พบมากเป็นชนิดใด
 : กระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic scoliosis) เป็นความผิดปกติของกระดูกสันหลังที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด พบได้ประมาณ 80% ของภาวะกระดูกสันหลังคด พบได้มากในเด็กวัยรุ่น อายุประมาณ 10-17 ปี (Adolescent Idiopathic Scoliosis) อาจพบได้ในเด็กที่มีสุขภาพดีแต่มีการเจริญเติบโตที่เร็วหรือสูงเร็วเกินไปได้

 

 
 : วิธีประเมินตนเองว่าเป็นกระดูกสันหลังคดหรือไม่ 
 : การสังเกตได้ด้วยตนเองหรือที่บ้าน (Home screening: Checklist)
  • มองจากด้านหลังแนวกระดูกสันหลังไม่ตรง
  • ระดับบ่าสองข้างไม่เท่ากัน
  • สะบักสองข้างนูนไม่เท่ากัน
  • หน้าอกหรือชายโครงด้านหน้านูนไม่เท่ากัน
  • ความคอดของเอวทั้งสองข้างไม่เท่ากัน
  • ระดับสะโพกสูงไม่เท่ากัน
  • เมื่อยืนตรง ก้มตัว พบว่าหลังสองข้างนูนไม่เท่ากัน (Adam test)
 

 
 : กระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุ มีกี่แบบ ต่างกันอย่างไร 
 : ชนิดของกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุ แบ่งหลัก ๆได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิด "3 curve" และ "4 curve"
 
ชนิด 3 curve (เดิมเรียกว่า C-Curve) ส่วนมากจะพบว่าระดับไหล่สองข้างไม่เท่ากัน การนูนของสะบักข้างขวามากกว่า และสะโพกข้างซ้ายจะยื่นออกไปมากกว่า

ชนิด 4 curve (เดิมเรียกว่า S-Curve)  ส่วนมากเมื่อใส่เสื้อผ้าจะแทบไม่เห็นความผิดปกติ เนื่องจากระดับไหล่สองข้างใกล้เคียงกัน แนวลำตัวจะสมดุลมากกว่า 3 curve อาจสังเกตเห็นสะโพกขวายื่นออกมามากกว่าปกติได้

 
 

 
 : หากไม่รักษาจะเป็นอย่างไร
 : กระดูกสันหลังคดในรายที่โค้งไม่มาก มักไม่มีอาการปวดหลัง แต่อาจขาดความมั่นใจในรูปลักษณ์ภายนอก เช่น ไม่กล้าใส่เสื้อผ้าพอดีตัว ส่วนในรายที่เป็นมากขึ้น เริ่มมีอาการปวดเมื่อยหลังข้างใดข้างหนึ่งได้ง่ายขึ้น นั่งเรียนหรือทำกิจกรรมได้ไม่ทน ส่วนในกรณีมีความโค้งรุนแรง กดเบียดอวัยวะภายใน เช่น หัวใจและปอด จะส่งผลกระทบต่อระบบการหายใจ มีอาการเหนื่อยง่าย ทำให้ประสิทธิภาพในการออกกำลังกายและการใช้ชีวิตลดลง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต

เนื่องจากภาวะกระดูกสันหลังคดจะมีความโค้งมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงวัยเจริญเติบโตเต็มที่องศาการคดจะค่อนข้างคงที่ ดังนั้นหากพบว่ามีกระดูกสันหลังคดได้เร็วและรับการรักษาก็จะช่วยลดอัตราการคดเพิ่มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

 

 
 : รักษาอย่างไรโดยไม่ต้องผ่าตัด
 : ที่ DBC เน้นรักษาด้วยการออกกำลังกายและการบำบัดด้วยเทคนิควอยต้า (Vojta therapy)
 

          (1) การทำกายบริหารเพื่อแก้ไขทรงของส่วนหลังอย่างเฉพาะเจาะจง (Curve specific therapeutic exercises) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษากระดูกสันหลังคดแบบไม่ต้องผ่าตัดที่ช่วยยับยั้งองศาการคดที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตได้ และยังสามารถช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นเพื่อช่วยในการทรงท่าทางให้กับร่างกาย โดยการออกกำลังกายนี้จะเน้นไปที่ 3D curve specific + active exercise โดยใช้ระบบการออกกำลังกายของชรอธ (Schroth’s Method) และเซอัส (Scientific Exercises Approach to Scoliosis (SEAS) Method) ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้


 

 

           (2) การรักษาด้วยเทคนิควอยต้า (Vojta Therapy) คือ การกระตุ้นชุดคำสั่งรูปแบบการเคลื่อนไหวร่างกายโดยอัตโนมัติ หรือที่เรียกกันว่า Reflex locomotion pattern ด้วยวิธีการจัดท่านอน ร่วมกับการกดจุดและการใช้แรงต้านการเคลื่อนไหว ซึ่งสามารถใช้บำบัดรักษาได้หลายปัญหาสุขภาพ ในกรณีของผู้ป่วยหลังคด เราทำวอยต้าเธอราปี เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อที่ออกแรงดึงกระดูกสันหลังให้ทำงานร่วมกันได้อย่างสมดุลขึ้น เมื่อเทียบกับสภาพก่อนการกระตุ้น อันจะส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถทำกายบริหารแบบเฉพาะเจาะจงได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

**  REFERENCE : http://www.zmf-asia.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=539875764&Ntype=12 **

 


 
 
 : นอกจากการออกกำลังกายยังมีวิธีการรักษาแบบอื่นหรือไม่
 : มี โดยขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยและคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญรวมถึงความต้องการของผู้ป่วย ได้แก่
 
  1. ใส่เครื่องช่วยพยุงลำตัว (Brace) ในรายที่มีความโค้งมาก การใส่เครื่องพยุงลำตัวหรือเกราะดัดหลังจะช่วยป้องกันและลดการคดเพิ่มได้
  2. การผ่าตัด (Surgery) ในรายที่มีความโค้งรุนแรง การผ่าตัดเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยแก้ไขกระดูกสันหลังคด โดยใช้การผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูกสันหลัง

 

 
 : ที่ DBC มีขั้นตอนในการรักษากระดูกสันหลังคดอย่างไรบ้าง
 : ขั้นตอนการรักษา
 
  1. โทรนัด วัน-เวลา เพื่อพบแพทย์
  2. พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอรับคำแนะนำและวางแผนการรักษา 
  3. ฝึกออกกำลังกายที่คลินิกโดยนักกายภาพบำบัด (มีการประเมินก่อนและหลังฝึกอย่างละเอียด)
  • ความถี่ในการรักษาอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 1-2 ชั่วโมง 2-4 ครั้งต่อเดือน 
  • ระหว่างสัปดาห์จะมีท่าออกกำลังกายให้ไปทำเองที่บ้านเป็นประจำ โดยนักกายภาพบำบัดเป็นผู้ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
  1. พบแพทย์เพื่อประเมินผลหลังฝึก ทุก 1-2 เดือนในระยะแรก หรือ ทุก 6 เดือน – 1 ปี เพื่อติดตามอาการ

 
 

 
 : ที่ DBC ค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่
 : ค่ารักษาประมาณ 500-2,000 บาทต่อครั้ง
.
 
พบแพทย์ ครั้งละ 500-1,000 บาท
ออกกำลังกายแบบเฉพาะ (Specific exercises)
[Schroth’s Method, SEAS Method]
ชั่วโมงละ 1,000 บาท
การรักษาแบบวอยต้า (Vojta therapy) ครั้งละ 600 บาท
 
.
.

สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่
หากมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
หรือทำการนัดเพื่อพบแพทย์